ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาแล้วเป็นก้อน มีสาเหตุมาจากอะไร แก้ไขยังไงดี

Lump Formation After Under-Eye Filler: Causes and Solutions

ฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาแล้วเป็นก้อน เกิดจากอะไร?

การฉีดฟิลเลอร์ใต้ตา เป็นหนึ่งในทางเลือกยอดนิยมสำหรับการเติมเต็มร่องลึกใต้ตา ช่วยให้ใบหน้าดูอ่อนเยาว์สดใสขึ้น แต่การฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาแล้วเป็นก้อน ก็เป็นหนึ่งในปัญหาที่หลาย ๆ คนอาจกังวลใจ ซึ่งเรื่องนี้มีสาเหตุมาจากหลากหลายปัจจัย อาทิ การเลือกโมเลกุลฟิลเลอร์ที่ไม่เหมาะกับโครงสร้างใบหน้า เช่น หากขนาดของโมเลกุลมีความหนาแน่นสูง แต่นำมาฉีดในผิวชั้นตื้น ก็จะทำให้ฟิลเลอร์เป็นก้อนได้ หรือตำแหน่งโครงสร้างใต้ตาบางรายอาจไม่เหมาะกับการวางฟิลเลอร์ เมื่อเกิดการขยับมาก ๆ กล้ามเนื้อรอบดวงตาจึงดันฟิลเลอร์ขึ้นมา กลายเป็นก้อนได้

นอกจากนี้ปริมาณของฟิลเลอร์ที่ฉีดใต้ตานั้น ก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะหากฉีดในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้เกิดภาวะหน้าล้น ใต้ตาดูเต็มฟูมากเกินไป จนดูไม่เป็นธรรมชาติได้

วิธีสลายก้อนฟิลเลอร์ ฉีดสลายก้อนฟิลเลอร์ใต้ตา

สำหรับวิธีการสลายฟิลเลอร์ที่เป็นก้อน โดยทั่วไปทำได้ 3 แบบ คือ การใช้ยาสลายฟิลเลอร์ เช่น ใช้เอนไซม์ไฮยาลูโรนิเดส เข้าไปสลายฟิลเลอร์ชนิดกรดไฮยาลูโรนิก โดยไฮยาลูโรนิเดสจะทำหน้าที่สลายฟิลเลอร์ให้แตกตัว และถูกดูดซึมกลับโดยร่างกาย ทำให้ก้อนฟิลเลอร์ลดลงหรือหายไป

ขณะที่อีกวิธีทำได้โดยการใช้เลเซอร์ส่งพลังงานไปสลายโมเลกุลฟิลเลอร์ ซึ่งเป็นการสลายฟิลเลอร์โดยไม่ต้องพึ่งการผ่าตัด และวิธีสุดท้าย คือ การผ่าตัด โดยจะทำในกรณีที่ฟิลเลอร์ที่ฉีดมาเกิดการจับตัวเป็นก้อน จนเกิดพังผืดเกาะ ทำให้ไม่สามารถใช้ยาหรือเครื่องสลายฟิลเลอร์ได้ ซึ่งส่วนใหญ่ฟิลเลอร์ประเภทนี้มักเป็นสารแปลกปลอม จึงจำเป็นต้องใช้วิธีการผ่าตัดเพื่อเลาะออก

ดังนั้น การเลือกฉีดฟิลเลอร์กับแพทย์ผู้ที่มีเทคนิคและประสบการณ์ จะสามารถลดโอกาสในการฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาแล้วเกิดปัญหาเป็นก้อนได้ 

การฉีดฟิลเลอร์ และรักษาก้อนฟิลเลอร์ เทคนิคเฉพาะที่อัฐฐา คลินิก

สำหรับที่อัฐฐา คลินิก (ATTA Clinic) มีโปรแกรมที่ชื่อว่า “SFIL Program” หรือ โปรแกรมฉีดฟิลเลอร์ยกหน้าแบบสแกนเห็น ซึ่งเป็นเทคนิคโดย พญ.อทิตา อินทร์วงศ์ หรือ “คุณหมอสร้อย” แพทย์เฉพาะทางด้านรังสีวินิจฉัย ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการ Ultrasound ประเมินโครงสร้างใบหน้า (Facial Ultrasound) เพื่อการวางตำแหน่งฟิลเลอร์อย่างแม่นยำ หลีกเลี่ยงเส้นเลือด และปรับตามโครงสร้างเฉพาะบุคคล

ทั้งนี้ การฉีดฟิลเลอร์ควรมีการวินิจฉัยและวิเคราะห์ปัญหาโครงสร้างใบหน้า ที่เกิดกระดูกทรุดและปริมาตรไขมันหายไป พร้อมวางแผนการรักษาเป็นขั้นตอนเพื่อยกโครงสร้างใบหน้าขึ้น เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ใบหน้าที่ดูยกกระชับเป็นที่น่าพึงพอใจ ทำให้ร่องใต้ตาตื้นขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ

ขณะที่ฟิลเลอร์ที่ใช้ในอัฐฐา คลินิกนั้น ทำมาจากกรดไฮยาลูโรนิกแอซิด ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับกรดไฮยาลูโรนิกที่ร่างกายมีอยู่ เมื่อฉีดเข้าไปใต้ผิวหนังในจุดที่ปริมาตรลดลง ฟิลเลอร์จะช่วยฟื้นฟูเติมเต็มใบหน้าได้อย่างเป็นธรรมชาติ ซึ่งร่างกายสามารถย่อยสลายกรดไฮยาลูโรนิกได้เองตามธรรมชาติ ดังนั้น ฟิลเลอร์จะค่อย ๆ สลายและถูกดูดซึมกลับสู่ร่างกายอย่างปลอดภัย และสามารถแก้ไขได้หากมีความจำเป็น

ส่วนผู้ที่มีปัญหาฉีดฟิลเลอร์ใต้ตาแล้วเป็นก้อน ที่อัฐฐา คลินิก ก็มีโปรแกรมที่ชื่อว่า “Ultrasound Guided Filler Correction” หรือ โปรแกรมแก้ไขฟิลเลอร์ สลายก้อนฟิลเลอร์ ด้วย Ultrasound วินิจฉัย โดยคุณหมอสร้อยจะตรวจวินิจฉัยด้วย Ultrasound ทำให้สามารถมองเห็นก้อนฟิลเลอร์ เพื่อประเมินตำแหน่งฟิลเลอร์ว่าอยู่ที่ส่วนไหน ซึ่งวิธีการแบบเฉพาะจุดนี้ เป็นการหลีกเลี่ยงการสลายฟิลเลอร์แบบสุ่มนั่นเอง โดยขั้นตอนต่อมาจะทำการรักษาสลายฟิลเลอร์ ด้วยเทคนิคภาพ Ultrasound นำทาง (Ultrasound-guided) ไปยังก้อนฟิลเลอร์ได้อย่างแม่นยำ จากนั้นจึงปรับโครงสร้างใหม่ โดยเลือกการรักษาตามความเหมาะสม

อย่างไรก็ดี เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาฉีดฟิลเลอร์แล้วเป็นก้อน ก่อนตัดสินใจฉีดฟิลเลอร์ทุกครั้ง ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ทางด้านหัตถการความงาม เพื่อวางแผนการรักษา ให้ได้ผลลัพธ์ความงามเฉพาะบุคคลที่แม่นยำ และมีความปลอดภัยอยู่เสมอ

บทความที่เกี่ยวข้อง